วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

ชื่อวิจัย  การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเล่นเกมสร้างมโทัศน์ด้านจำนวน

ชื่อผู้แต่ง  นฤมล ปิ่นดอนทอง

จุดมุ่งหมาย  เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเล่นสร้างมโนทัศน์
ด้านจำนวนและการเล่นปกติ

ประชากรที่ศึกษา  เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ชั้นปฐมวัยปีที่ 3

สรุปผลการวิจัย

         วิธีการดำเนินการ   1.สร้างความคุ้นเคยกับเด็กในกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
                                           2.ทำการทดสอบก่อนการทดลอง (Prettst)  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดโดยใช้
 แบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผล แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม โดยพิจารณาจากคะแนนทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผลที่ใกล้เคียงกัน
                                          3.ดำเนินการทดลองโดยกลุ่มทดลองได้รับการเล่นเกมมโนทัศน์ด้านจำนวนและกลุ่มควบคุมได้รับการเล่นปกติ ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20 นาที รวมทั้งสิ้น 40 ครั้ง                    
                                          4.หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองทำการทดสอบหลังการทดลอง (Posttest)            
ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้แบบทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผลฉบับเดียวกับการทดลองก่อนการทดลอง แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด
                                          5.นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบวัดการคิดเชิงเหตุผลมาทำการวิเคราะห์ข้อมูล

          สรปผลการทดลอง   เด็กปฐมวัยที่ได้รับการเล่นเกมสร้างมโนทัศน์ด้านจำนวนและเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเล่นปกติ มีการคิดเชิงเหตุผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น