วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2555


****ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค****



วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2555


***ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระและอาจารย์ได้ให้ทำงานที่มอบหมายไว้ให้***


วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2555

-อาจารย์ให้นำกล่องมาและถามทีละคนว่า(กล่องแต่ละคนมีความแตกต่างกัน)
1.นึกถึงอะไร
2.อยากให้เป็นอะไร
3.นอกจากใช้ใส่ของแล้วอยากให้เป็นอะไร

      กล่องทำให้เกิดคณิตศาสตร์ได้ดังนี้
1.รูปทรง
2.ขนาด
3.ประเภท
4.การวัด
5.พื้นที่
6.จำนวน
7.การนับ
8.เปรียบเทียบ
9.เรียงลำดับ
10.จับคู่
11.ทำตามแบบ
12.เศษส่วน
13.การอนุรักษ์
14.ตัวเลข

-ครูอำนวยความสะดวก คือ ครูเป็นผู้จัดประสบการณ์

-อาจารย์ให้จับกลุ่มละ 10 คน และให้นำกล่องของตนเองมาต่อกับเพื่อนทีละคนโดยไม่ให้ปรึกษากัน
เพื่อจะให้รู้จักการแก้ปัญหา การคิด และการเชื่อมโยง
-อาจารย์ถามนักศึกษาทีละคนว่าสิ่งที่นักศึกษากำลังจะต่อคืออะไรซึ่งแต่ละคนตอบไม่เหมือนกันเพราะไม่ได้มีการวางแผนเตรียมกันมาก่อน
ผลงานกลุ่ม


-อาจารย์ให้ปรึกษากันได้และนำกล่องมาเพิ่มว่าจะช่วยกันต่อกล่องเป็นรูปอะไรโดยกลุ่มได้ทำเป็นหุ่นยนต์
ผลงาน

-นำออกมาหน้าชั้นเรียนว่าเป็นรูปอะไร (หุ่นยนต์)
ผลงาน

-เมื่อต่อเสร็จแล้วก็นำของแต่ละกลุ่มมาจัดรวมกันและส่งตัวแทนออกมาเพื่อช่วยกันคิดว่าจะจัดเป็นอะไรได้บ้างเมื่อได้ความคิดแล้วก็ช่วยกันจัด
ผลงาน

-อาจารย์บอกว่าเมื่อเวลานำกล่องมาใช้ควรเก็บไว้ใช้ทำสื่อต่างๆ หรือจัดประสบการณ์ต่างๆได้

**การบ้าน**
-ทำดอกไม้จากแกนทิชชู คนละ 3 ดอก จาก 1แกน



วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเรียนรู้ครั้งที่ 5


วันอังคารที่  4 ธันวาคม พ.ศ.2555

-นำเสนองานที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้ว(ความเรียง)
           หน่วยบ้าน
        วันนี้คุณครูจะมาสอนเด็กๆเรื่องบ้าน คุณครูจะนำภาพบ้านหลังใหญ่มา 1 หลัง ให้เด็กๆช่วยกันนับหน้าต่างของบ้านหลังนี้ว่ามีหน้าต่างทั้งหมดกี่บานและเด็กๆเห็นบ้านเลขที่หลังนี้ไหมค่ะว่ามีตัวเลขอะไรบ้าง นอกจากตัวเลขแล้วเด็กๆ คิดว่าส่วนประกอบของบ้านมีรูปทรงอะไรบ้าง เมื่อคุณครูและเด็กร่วมกันพูดคุยเรื่องบ้านแล้ว คุณครูแบ่งเด็กเป็นกลุ่มละเท่าๆกัน โดยนำบัตรภาพรูปบ้านชนิดต่างๆมาให้เด็กแต่ละกลุ่ม คุณครูมีภาพบ้านอยู่ในตะกร้าและให้เด็กๆช่วยกันนำภาพตึกแถวออกมาวางบนโต๊ะและให้เด็กๆจับคู่ภาพตึกแถวที่มีสีเหมือนกัน จากนั้นคุณครูหยิบภาพบ้านที่อยู่ในตะกร้ามา 2 ภาพ ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันให้เด็กๆสังเกตว่าภาพบ้านหลังไหนมีขนาดเล็กกว่ากัน ต่อจากนั้นครูนำภาพบ้าน 2 หลังมาติดบนกระดานให้มีระยะห่างกันโดยให้เด็กวัดความยาวจากการใช้นิ้วมือว่ามีความยาวเท่าไร คุณครูมีกิจกรรมให้เด็กๆวาดภาพต่อเติมภาพบ้านที่หายไปตามจิตนาการของเด็กๆและระบายสีให้สวยงาม

  -อาจารย์แนะนำในเรื่องของการจัดประสบการณ์ในแต่ละวันว่าควรจะสอนเรื่องอะไรก่อน ดังนี้
วันจันทร์ > ชนิด(ประเภท)   
วันอังคาร > ลักษณะ 
วันพุธ > ส่วนประกอบ
วันพฤหัสบดี > ประโยชน์
วันศุกร์ > ข้อควรระวังหรือการดูแลรักษา


**การบ้าน**
-ให้เขียนแผนคนละ 1 วันตามหน่วยของกลุ่มตนเอง
-นำกล่องมาคนละ 1 ใบ

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


-อาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละแผ่นและให้เขียน Mind Map ในหน่วยของตนเองในความเข้าใจของแต่ละคน
-การทำ Mind Map คือการเขียนวิเคราะห์

-อาจาย์ให้ข้อเสนอแนะในการทำ Mind Map ว่าในการโยงเส้นยังไม่เรียบร้อยและถูกต้อง
-อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอในหน่วยที่ตนเองได้รับมอบหมาย
-อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะแต่ละกลุ่ม

-กลุ่มของดิฉันหน่วยบ้าน
      หน่วยบ้าน
-การนับ > บ้านหลังนี้มีหน้าต่างกี่บาน
-ตัวเลข > บ้านหลังนี้มีบ้านเลขที่ 417
-การจับคู่ > เด็กๆจับคู่บ้านตึกแถวที่มีสีเดียวกัน
-การจัดประเภท > คุณครูมีภาพบ้านอยู่ในตะกร้า ให้เด็กๆนำภาพที่เป็นตึกแถวมาวางบนโต๊ะ
-การเปรียบเทียบ > คุณครูมีภาพ 2 ภาพ ให้เด็กๆเปรียบเทียบระหว่างกับภาพที่ 1 กับภาพที่ 2 ภาพ      ไหนเล็กกว่ากัน
-การจัดลำดับ > ตอนเช้าฉันทำความสะอาดห้องน้ำ หลังจากนั้นตอนบ่ายฉันไปล้างจานในครัว
-รูปทรงและเนื้อที่ > เด็กๆคิดว่าส่วนประกอบของบ้ายมีอะไรบ้าง
-การวัด > คุณครูมีภาพบ้าน 2 ภาพ วางห่างกัน ให้เด็กๆวัดระยะห่างของบ้านทั้ง 2 หลังโดยใช้นิ้ว
-เซต > วันนี้จะมีแขกมาเยี่ยมห้องของเราคุณครูจะให้เด็กๆช่วยกันจัดชุดกาแฟ 2 ชุด
-เศษส่วน > ฉันปลูกบ้านตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน คือ
ส่วนที่ 1 ปลูกผัก ส่วนที่ 2 เลี้ยงปลา ส่วนที่ 3 เลี้ยงวัว และส่วนที่ 4 ปลูกบ้าน
-การทำตามแบบหรือลวดลาย > ให้เด็กๆวาดภาพต่อเติมบ้านที่หายไปให้สมบูรณ์
-การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ > คุณครูแบ่งดินน้ำมันให้คนละก้อนเท่าๆกันโดยให้เด็กๆปั้นรูปบ้านตามจิตนาการของตนเอง

      หน่วยนาฬิกา
-การนับ > มีนาฬิกาอยู่ในบ้านกี่เรือน
-ตัวเลข > เลข 9 อยู่ใกล้เลขอะไรในนาฬิกา
-การจับคู่ > นาฬิกาดิจิตอลไปใส่ในกล่องรูปดาว
-เชต > นาฬิกาแขวนผนังและนาฬิกาข้อมือส่วนใหญ่ทำมาจากวัสดุที่ทำมาจากไม้
-เศษส่วน > มีนาฬิกา 10 เรือนแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
-การทำตามแบบหรืลวดลาย > ให้เด็กวาดรูปนาฬิกาในกรอบสี่เหลี่ยม
-การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้าปริมาณ > เมื่อเวลาผ่านไปทรายในนาฬิกายังเท่าเดิม
      หน่วยแมลง
-การเปรียบเทียบ > แมลงเต่าทองกับแมลงปอแมลงชนิดไหนมีขนาดเล็กกว่ากัน
-การจัดลำดับ > การจัดแมลงที่มีขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่
-รูปทรงและเนื้อที่ > แมลงแต่ละชนิดมีรูปทรงอะไรบ้าง
-การวัด > ให้เด็กวัดความยาวลำตัวของแมลงโดยใช้นิ้ว
-เซต > ให้เด็กๆเตรียมอุปกรณ์ในการจับแมลง
-เศษส่วน > มีแมลง 10 ตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
-กาารทำตามแบบหรือลวดลาย > ให้เด็กสังเกตต่อภาพจิ๊กซอตามตัวอย่าง
      หน่วยกุหลาบ
-การนับ > ให้เด็กๆช่วยกันนับว่าในช่อกุหลาบมีกุหลาบกี่ดอก
-ตัวเลข > ให้เด็กๆนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาติดแทนค่าจำนวนดอกกุหลาบ
-การจับคู่ > ให้เด็กจับคู่ภาพดอกกุหลาบที่มีจำนวนเท่ากัน
-การเรียงลำดับ > ให้เด็กๆเรียงลำดับจากเล็กไปหาใหญ่
-รูปทรง > ส่วนประกอบของดอกกุหลาบมีรูปร่างอย่างไร
-การวัด > ให้เด็กๆวัดความยาวของกุหลาบโดยการใช้ไม้บรรทัด
-การจัดประเภท > ให้เด็กจัดกลุ่มดอกที่มีสีแดง
-เศษส่วน > มีดอกกุหลาบทั้งหมด 10 ดอก และให้เด็กๆแบ่งเป็น 2 กองเทาาๆกัน
-กาารทำตามแบบและลวดลาย > นำวัสดุที่เป็นดอกกุหลาบมาประกอบให้เป็นดอกกุหลาบ
-การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ > นำดอกกุหลาบมาใส่แจกันที่มีความแตกต่างกัน
-เซต > เครื่องมือในการปลูกดอกกุหลาบ
-การเปรียบเทียบ > ดอกกุหลาบดอกไหนใหญ่กว่ากัน
-เนื้อที่ > แปลงดอกกุหลาบ 1 แปลงปลูกกุหลาบได้กี่ต้น
      หน่วยยานพาหนะ
-การนับ > เด็กๆช่วยกันนับล้อรถว่ามีกี่ล้อ
-ตัวเลข > ฉันขึ้นรถเมล์สาย 206
-จับคู่ > ให้เด็กๆจับภาพจำนวนหมวกกันน็อคกับตัวเลขฮินดูอารบิก
-การจัดประเภท > ให้เด็กๆหยิบภาพรถที่มีล้อ 2 ล้อมาติดที่ครูกำหนด
-การเปรียบเทียบ > เด็กๆคิดว่ารถไฟกับรถเมล์รถชนิดใดมีล้อมากกว่ากัน
-การเรียงลำดับ > ในช่วงเช้าฉันทำความสะอาดรถในช่วงบ่ายไปตรวจสภาพรถ
-รูปทรง > รถไฟมีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
-เซต > การทำความสะอาดมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
-การเปรียบเทียบ > รถมอเตอร์ไซค์วิ่งเร็วกว่าจักยานแต่มีล้อ 2 ล้อเหมือนกัน
      หน่วยขนมไทย
-การนับ > การนับจำนวนชนิดของขนม
-จำนวน > ให้เด็กนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาติดตามจำนวนขนมที่อยู่ในถาด
-จับคู่ > เด็กๆจับคู่ขนมที่เหมือนกัน
-การจัดประเภท > ให้เด็กๆแยกขนมที่นิ่มออกมาใส่จาน
-การเปรียบเทียบ>ให้เด็กๆเปรียบเทียบขนาดของขนมเล็กใหญ่และนำมาเปรียบเทียบชิ้นไหนใหญ่กว่ากัน
-การจัดลำดับ > ให้เด็กๆเรียงชิ้นขนม จากเล็ก-ใหญ่
-รูปทรง > ให้เด็กๆหยิบขนมที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยม
-เนื้อที่ > เด็กๆคิดว่าถาด 1 และถาด 2 ถาดใดใส่ขนมมากกว่ากัน
-เซต > เด็กๆคิดว่าอุปกรณ์ในการทำขนมมีอะไรบ้าง
-การทำ ตามแบบและลวดลาย > ให้เด็กๆแต่่งลวดลายตามอิสระ
-เศษส่วน > ถ้าเด็กๆมีขนม 4 ชิ้นจะแบ่งขนมให้เท่าๆกันอย่างไร
-การอนุรักษ์และการคงที่ด้านปริมาณ > การทำวุ่นใส่แม่พิมพ์คนละรูปแต่ตัวเนื้อวุ้นมีขนาดเท่ากัน
       หน่วยกล้วย
-การนับ > กล้วยในตะกร้ามีกี่ลูก
-ตัวเลข > เด็กๆหยิบเลขฮินดูอารบิกมาติดที่หวีของกล้วย
-จับคู่ > ให้เด็กๆจับคู่กล้วยหอมเล็กกับเล็ก ใหญ่กับใหญ่
-การจัดลำดับ > เรียงกล้วยที่มีขนาดเล็กไปหาใหญ่
-รูปทรง > ตัดต้นกล้วยที่มีรูปทรงกลมมาทำกระทง
-การวัด > ให้เด็กๆวัดผลกล้วยโดยการใช้ไม้บรรทัด
-เซต > การจัดเซตอุปกรณ์ในการทำกล้วยบวชชี
-เศษส่วน > กล้วย 1 หวี แบ่งครึ่งให้เท่าๆกันและแบ่งให้เด็ก 2 คน
-การทำตามแบบและลวดลาย > วาดภาพต่อเติมต้นกล้วยตามที่ครูกำหนด
-การอนุรักษ์และการคงที่ด้านปริมาณ > กล้วยฉาบแบ่งใส่ขวดโหล กล้วยกวนแบ่งใส่กล่อง

   **การบ้าน**
-ให้เขียนทั้ง 12 ข้อ เป็นความเรียง(ถ้าจะสอนจะทำอย่างไรที่จะแทรกคณิตศาสตร์ 12 ข้อ)

   





วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

-อาจารย์ตรวจงานแต่ละกลุ่มและให้ข้อเสนอแนะในแต่ละกลุ่ม



-อาจารย์ให้เพื่อนออกมาร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้ฟังว่าเกี่ยวข้องอะไรกับคณิตศาสตร์

เพลงโปเล โอลา

  โปเล่ โปเล่ โปเล่ โอลา
เด็กน้อยยื่น 2 แขนมา
มือซ้ายขวาทำเป็นคลื่นทะเล
ปลาวาฬพ่นน้ำเป็นฝอย
ปลาเล็กปลาน้อยว่ายตาม
ปลาวาฬนับ 1 2 3
ใครว่ายตามปลาวาฬจับตัว

จากเพลง
-เป็นการนับปากเปล่า
-ซ้าย-ขวา บอกถึงตำแหน่ง
-เพลงนี้เด็กเล็กๆจะร้องได้ง่าย

ขอยข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

(เนื้อหาหรือทักษะ นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)
1. การนับ (canting) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข
2. ตัวเลข (number) เป็นการกำกับตัวเลข
3. การจับคู่ (matching) ใช้ทักษะการสังเกต เช่น ภาพเหมือนกัน จับคู่จำนวนกับจำนวน
4. การจัดประเภท (classification) ต้องหาเกณฑ์
5. การเปรียบเทียบ (comparing) ต้องหาฐานที่เหมือนกันก่อนที่จะเปรียบเทียบต้องรู้ค่าก่อน
6. การจัดลำดับ (ordering)
7. รูปทรงและเนื้อที่(shape and space)
8. การวัด (measurement) การหาค่าหรือปริมาณ
9. เซต (set) มีหน้าที่เชื่อมโยง
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบหรือหรือลวดลาย (patterning)
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ(conservation)

เยาวพา เดชะคุปด์ (2542:87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา
 เพื่อจัดประสบการณ์ให้เด็ก ดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต
2. จำนวน 1- 10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่จำนวนคี่
3.ระบบจำนวน (number system)
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (properties of math)
6. ลำดับที่
7. การวัด (measurement) หาค่าในเชิงปริมาณ
8. รูปทรงเรขาคณิต เป็นพื้นฐานที่อยู่รอบตัวเรา
9.สถิติและกราฟ การหาความสัมพันธ์

งาน
เพิ่มเติมงานกลุ่มในแต่ละหัวข้อของแต่ละกลุ่มเกี่ยวข้องอะไรกับคณิตศาสตร์


 

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

-ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
-เมื่อเราจะเรียกตัวเลขให้เด็กฟังเราควรพูดให้เป็นความเคยชินว่า เลขฮินดูอารบิก
เพื่อให้เด็กรู้ว่าตัวเลขแบบที่เราใช้กันส่วนใหญ่นั้นเรียกว่า เลขฮินดูอารบิก
-เด็กแต่ละคนควรมีบัตรภาพและเขียนชื่อเด็กไว้ด้วยเพื่อเป็นตัวแทนของตัวเด็กเอง
-เด็กอายุ 3 ขวบจะนับตัวเลขตามได้แต่ก็ยังไม่เข้าค่อยเข้าใจเท่าไรนัก

-เมื่อจะสอนเด็กนับเลขหลักหน่วยควรสอนให้เด็กนับ เช่น
 มีอยู่ 1 เพิ่มมาอีก1 เป็น 2
 มีอยู่ 2 เพิ่มมาอีก 1  เป็น 3
 มีอยู่ 3 เพิ่มมาอีก 1  เป็น 4
 มีอยู่ 4 เพิ่มมาอีก 1 เป็น 5  เป็นต้น

-เมื่อจะสอนเด็กนับเลขหลักสิบควรสอนให้เด็กนับ เช่น
 10 กับอีก 1 เป็น 11
 10 กับอีก 2 เป็น 12
 10 กับอีก 3 เป็น 13
 10 กับอีก 4 เป็น 14
 10 กับอีก 5 เป็น 15

-การบูรณาการมี 2 ลักษณะ
1.การบูรณาการที่เป็นเนื้อเดียวกัน
2.การบูรณาการที่แยกส่วน

-อาจารย์ให้ฟังเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
1.เพลงกบกระโดด
นับ 1 เป็นกบกระโดด
นับ 2 ว่ายน้ำเป็นปลา
นับ 3 วิ่งควบเหมือนม้า
นับ 4 บินเหมือนผีเสื้อ
2.เพลงแมลงปอ
เจ้าแมลงปอบินมา 1 ตัว บินแล้วก็หมุนไปรอบตัว
บินไปทางซ้าน บินไปทางขวา
 บินไปข้างหลังและก็บินไปข้างหน้า

  -ครูปฐมวัยควรแต่งเพลงได้และต้องมีจุดมุ่งหมาย

เกมการศึกษา
1.การศึกษารายละเอียดของภาพ (ลอตโต้)
2.ความสัมพันธ์ 2 แกน - ทิศทาง
3.โดมิโน - การต่อกันโดยใช้ปลายบนหรืล่างให้สีเหมือนกัน
4.จิ๊กซอหรือภาพตัดต่อ
5.จับคู่
6.เรียงลำดับเหตุการณ์ - สิ่งที่เกิดก่อนหลังซึ่งมีความเชื่อมโยงกันอย่างต่ดเนื่อง
7.อนุกรม - เป็นชุด เช่น ภาพเดียวกันแต่มีขนาดเล็ก กลาง ใหญ่
8.อุปมา อุปไมย - ถ้าเห็นสีขาวจะนึกถึงสำลี ถ้าเห็นสีดำนึกถึงอีกา

- เมื่อเราจะเข้าสู่การเสริมประสบการณ์เราควรใช้
1.นิทาน
2.เพลง
3.คำคล้องจอง
4.เกมการศึกษา
5.กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
6.กิจกรรมศิลปะ
7.กิจกรรมกลางแจ้ง
8.กิจกรรมเสรี

งาน
แบ่งกลุ่ม 5 คน สร้างหน่วย 1 หน่วยและจากหน่วยนั้นจะสะท้อนอะไรบ้างกับคณิตศาสตร์


วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันอังคารที่ 6  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2555

-อาจารย์ให้นักศึกษาทำบล็อกและจะตรวจบล็อกทุกวันศุกร์
-พัฒนาการบ่งบอกถึงความสามารถ
-พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นขั้นตอนลำดับ
-คณิตศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวัน
-ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้
-การจัดประสบการทางคณิตศาสตร์เด็กควรที่จะรู้อะไรบ้าง

กิจกรรมหลักทั้ง 6

-กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
-กิจกรรมเสริมประสบการณ์
-กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
-กิจกรรมกลางแจ้ง
-กิจกรรมเสรี
-กิจกรรมเกมการศึกษา